มะเร็งปากมดลูกคือมะเร็งชนิดที่เกิดขึ้นที่ปากมดลูก ซึ่งอยู่บริเวณส่วนล่างของช่องคลอด บริเวณปากมดลูกประกอบไปด้วยเซลล์หลายล้านเซลล์ ความเปลี่ยนแปลงของเซลล์เหล่านี้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจก่อให้เกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก3 มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดอันดับสี่ในสตรีทั่วโล1
กว่า 99% ของโรคมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ Human Papillomavirus (HPV).4 ซึ่งเป็นไวรัสที่พบได้บ่อยมาก อันที่จริงแล้ว สตรีจำนวนมากถึงสี่ในห้าคนจะติดเชื้อนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต.17 HPV มีมากกว่า 100 ชนิด โดยมี 14 ชนิดถือเป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก.9, 10 ในสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง 14 ชนิดนี้ HPV 16 และ 18 เป็นสาเหตุใน 70% ของจำนวนโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด11 สตรีที่มีเชื้อ HPV 16 หรือ 18 มีโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะก่อนมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 35 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีเชื้อ HPV.4
ใครที่มีเพศสัมพันธ์ก็มีโอกาสติดเชื้อ - HPV ได้ แม้จะมีคู่นอนเพียงคนเดียว หรือแม้แต่ใช้ถุงยางในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ HPV สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายได้นานกว่า 10-15 ปีโดยไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าจะพัฒนาไปเป็นภาวะก่อนมะเร็ง และลุกลามต่อไป ดังนั้น คุณก็อาจมีเชื้อไวรัสนี้ได้แม้ว่าจะห่างหายจากการมีเพศสัมพันธ์ไปแล้วหลายปีก็ตาม.17
การตรวจสอบ HPV เป็นเรื่องง่ายเหมือนการทำแปปสเมียร์ ซึ่งอาจจะทำไปได้พร้อมๆ กัน หรือแยกทำต่างหากก็ได้ การตรวจสอบจะเก็บเซลล์จากบริเวณปากมดลูก แล้วตรวจสอบ DNA ของเซลล์เหล่านั้นเพื่อมองหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง 14 ชนิด ที่อาจก่อให้เกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก.5
การตรวจสอบหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงจะช่วยให้แพทย์ระบุได้ว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้ก่อนที่จะต้องรอให้เซลล์มีความเปลี่ยนแปลง และแสดงให้เห็นเมื่อทำแปปสเมียร์.
การตรวจสอบหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงจะช่วยให้แพทย์ระบุได้ว่าคุณมีเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่,9, 10 อีกทั้งยังระบุได้ด้วยว่าคุณมีเชื้อ HPV 16 และ/หรือ 18 ที่เป็นต้นเหตุของ 70% ของจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด.11 หรือไม่ สตรีที่มีเชื้อ HPV 16 และ/หรือ 18 มีโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะก่อนมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 35 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีเชื้อ HPV.4
แปปสเมียร์ไม่สามารถตรวจหาเชื้อ HPV 16, 18 หรืออีก 12 สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ แปปสเมียร์ระบุได้เฉพาะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วในเซลล์ปากมดลูก ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสตรีจำนวนสูงถึงหนึ่งในสามที่ได้รับผลตรวจแปปสเมียร์เป็นปกติแต่แท้ที่จริงแล้วเป็นมะเร็งปากมดลูก.12, 13 การตรวจพบแต่เนิ่นๆ ในระยะก่อนมะเร็งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง การระบุระดับความเสี่ยงได้อย่างแน่ชัดจะช่วยให้แพทย์สามารถใช้มาตรการป้องกันได้อย่างถูกต้อง และลดความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก การตรวจหาเชื้อ HPV นั้นทำได้ง่ายมาก และสามารถทำไปพร้อมกับการทำแปปสเมียร์ (หรือแยกทำต่างหาก) ก็ได้
การตรวจพบเชื้อ HPV 16 หรือ 18 ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นมะเร็งแล้วแน่นอน แต่มันหมายถึงคุณมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาจนเป็นโรคนี้ได้
การระบุระดับความเสี่ยงได้แต่เนิ่นๆ จะช่วยให้แพทย์สามารถจัดการการรักษา และให้มาตรการป้องกันที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยง หรือแม้กระทั่งป้องกันไม่ให้โรคมะเร็งปากมดลูกพัฒนาขึ้นมาได้
หากคุณตรวจไม่พบเชื้อ HPV 16, 18 หรือเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ หมายความว่าคุณมีโอกาสน้อยที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก14 ทั้งนี้ คุณควรเข้ารับการตรวจซ้ำทุกๆ 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับคำแนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลคุณ.
การส่องตรวจช่องคลอดเป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่แพทย์จะใช้อุปกรณ์ส่องตรวจ (อุปกรณ์ขยายภาพที่มีแสงส่องสว่าง) เพื่อการตรวจสอบบริเวณปากมดลูก ช่องคลอด และแคมช่องคลอดได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ อาจมีการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ.19
แม้ว่าการรับวัคซีนจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ HPV แต่มันไม่สามารถป้องกันในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ช่วงที่รับวัคซีน และอาจติดเชื้อ HPV มาก่อนหน้านั้นแล้ว.
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าคุณจะเคยฉีดวัคซีนมาแล้วหรือไม่ก็ตาม.15
ปรึกษานรีแพทย์ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลคุณเกี่ยวกับการตรวจสอบหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HPV 16 และ HPV 18.